Transform to Industry 4.0 Part 2

การได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของอุตสาหกรรม 4.0 ต้องดำเนินการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในเชิงบริหารและปฏิบัติเพื่อสร้างองค์กรที่สามารถผสานรวมเครื่องมือและเทคโนโลยีมาประสานในกระบวนสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจได้จริงและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล ซึงมีกรณีศึกษาจากจำนวนมากพบว่าการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาจไม่บรรลุผลตามที่ต้องการหรืออาจสร้างอุปสรรค เนื่องจากจากเปลี่ยนแปลง (Transformation) ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาสม เช่น ระบบต้องการเพิ่มประสิทธิ์ภาพการผลิตแต่ยังไม่มีระบบบันทึกประวัติการผลิตและจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม หรือ กระบวนการไม่พร้อมต่อการรองรับการใช้งานเทคโนโลยี เช่น ต้องการสร้างระบบอัตโนมัติ แต่ขั้นตอนส่วนมากยังใช้วิธีการจดบันทึกลงกระดาษ รวมถึงระบบดังกล่าวไม่ถูกนำไปใช้งานในกิจกรรมทางธุรกิจจริงเนื่องจากเครื่องมือ/เทคโนโลยีถูกยอมรับและเห็นประโยชน์เพียงจากบางส่วนงานไม่ถูกนำไปใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การล้มเหลวในท้ายที่สุด

ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงกิจกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม 4.0 บนกระบวนการ Digitization, Digitalization และ Digital Transformation

What (คืออะไร) and Why (ทำใมต้องทำ)

1. Digitization (Data/Information transformation) คือ การแปลงข้อมูลหรือข่าวสารที่เกิดขึ้นในกิจกรรมหรือขั้นตอนใดๆ ทางธุรกิจจาก Analog เป็น Digital ทั้งข้อมูลขาเข้า (Input) หรือ ข้อมูลขาออก (Output) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการก็ได้ รวมไปถึงการออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานต่อยอดในการทำ Digitalization ต่อไป เช่น

  • การติด Sensor ต่างๆ บนอุปกรณ์เครื่องจักร
  • การตรวจรับวัตถุดิบผ่าน Barcode/QR code
  • การบันทึกข้อมูลลงบน Electronic form แทนกระดาษ

ข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นและส่วนสำคัญของการสร้าง Digital Transformation เนื่องจากหากคุณต้องการสร้างกระบวนการวิเคราะห์รายละเอียดกิจกรรมทางธุรกิจ การพยากรณ์ในแง่มุมต่างๆ หรือ การสร้างระบบอัตโนมัติล้วนต้องการข้อมูลที่เหมาะสมในการดำเนินกระบวนการทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นยิ่งองค์กรมีข้อมูลในรูปแบบ Digital ที่พร้อมใช้งานมากเท่าไหร่ขีดความสามารถในการปรับตัวยิ่งเพิ่มสูงเท่านั้น

2. Digitalization (Activities/Processes Transformation) คือ การนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาปรับปรุงกิจกรรมหรือกระบวนให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการสร้างกระบวนการอัตโนมัติที่สามารถดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้เองโดยมนุษย์ทำหน้าที่เพียงควบคุมและตรวจสอบความถูกต้อง เช่น

  • ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล พยากรณ์และจัดทำรายงาน
  • ระบบเฝ้าระวังความผิดพลาดของเครื่องจักรและไลน์ผลิต
  • ระบบการส่งข้อมูลระหว่างระบบการขาย คลังสินค้าและ การผลิต
  • การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องจักรเพื่อทำงานร่วมกัน

การแปลงเป็นดิจิทัลช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพพร้อมทั้งลดต้นทุน รวมถึงปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจที่มีอยู่โดยไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการเดิม โดยเป็นส่วนที่สร้างคุณค่าให้กับองค์กรและใช้งานข้อมูลให้เกิดประโยชน์ โดยส่วนมากในหลากองค์กรเริ่มเปลี่ยนแปลง (Transform) จากกระบวนการนี้โดยสร้างโครงการขนาดเล็กเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะจุด โดยพิจารณาปัญหาที่พบอยู่ในกิจกรรมปัจจุบันเพื่อจัดสรรคเทคโนโลยีมาใช้งานซึ่งสามารถสร้างผลลัทธ์ที่เป็นรูปธรรมและเห็นถึงความคุ้มค่าจากการลงทุน

หมายเหตุ
หลายองค์กรประสบปัญหาหลายประการในการบรรลุ Digitalization เช่น

  1. การไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาอันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอของข้อมูลที่นำมาปรับใช้ ซึ่งอาจเป็นผลจากขั้นตอน Digitization ไม่ได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ไม่สามารถนำไปขยายผลไปส่วนอื่นในภาพธุรกิจได้เนื่องจากส่วนงานอื่นไม่เข้าใจและทราบถึงประโยชน์
  3. เป็นกิจกรรมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากขาดการทบทวนภาพรวมในกิจกรรม Digital Transformation ในหัวข้อถัดไป

3. Digital Transformation (Business Transformation) คือ การเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือวิธีการดำเนินธุรกิจในภาพใหญ่ซึ่งได้นำเทคโนโลยีหรือกระบวนการที่ถูก Digitalization มาเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน โดยอาจสร้างผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบเชิงกลยุทธ์ วิธีการดำเนินธุรกิจ หรือ อาจจะต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่ากับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถอ้างอิงจากรณี Netflix ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเปลี่ยนจากธุรกิจร้านเช่าวิดีโอมาเป็นผู้นำตลาดใน Media Streaming สำหรับภาพยนตร์ ความบันเทิง และในที่สุดก็กลายเป็นผู้ผลิตสื่อของตนเอง หรือ ตัวอย่างอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมีดังนี้

  • การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากโรงงานสู่ผู้บริโภค
  • กระบวนผลิตอัตโนมัติแบบสมบูรณ์
  • การงดหรือลดการใช้งานกระดาษ (Paperless)
  • Electronic Tax

โดยสรุปใจความสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรว่าสามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนกิจกรรมใดได้บ้าง และกิจกรรมดังกล่าวสามารถไปสร้างคุณค่ากับธุรกิจในแง่มุมใดและสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรหรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาเทคโนโลยีที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็น Business Analytics & Intelligence, IoT, Automation, Machine Learning หรือ AI ทำให้เราสามารถเลือกและมั่นใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างประโยชน์ได้แน่นอนบนขั้นตอนที่เหมาสม

จากข้อมูลดังกล่าวผู้เขียนเชื่อว่าทุกท่านมีประสบการณ์ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วไม่มาก็น้อยหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบและวางแผนกระบวนการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของท่านเพื่อการแข่งขันในยุคสมัยปัจจุบันและ ในบทความต่อไปจะมานำเสนอมุมมองของแนวทางการนำกระบวนการไปใช้งานและผู้ที่จะร่วมพลักดันและเกี่ยวข้องเป็นใครบ้าง

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!

Share this article on social media!